วันจันทร์ที่ 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

Moribana การจัดในภาชนะทรงเตี้ย

 การจัดดอกไม้ในภาชนะหรือแจกันรูปทรงเตี้ยในแนวนอน เรียกว่า Moribana จุดเด่นของการจัดแบบนี้คือการเปิดพื้นที่แสดงความสวยงามของดอกไม้ในแนวนอนและอวดรูปทรงดอกไม้บานเต็มดอก รูปลักษณ์เมื่อจัดเสร็จเหมือนพุ่มดอกไม้
       ขณะที่การจัดแบบ heika มีพัฒนาการยาวนานมาหลายศตวรรษและมีแบบแผนและวิธีการซับซ้อน ส่วน moribana เพิ่งเกิดขึ้นช่วงร้อยปีนี่เอง และไม่มีความซับซ้อนมากนัก
       อย่างไรก็ตามการจัดแบบ moribana ก็มีสไตล์แยกย่อยหลากหลาย ขึ้นอยู่กับมุมเอียงของก้านดอกฐาน ก้านดอกรองและก้านดอกยอด สไตล์ที่เสียบดอกไม้แบบตั้งตรงเป็นแบบพื้นฐานและได้รับความนิยมที่สุด ในด้านมุมมอง รูปแบบเสียบก้านตั้งตรงเป็นที่เชื่อว่าสร้างความรู้สึกฐานให้มั่นคง หนักแน่น
       การจัดแบบพื้นฐานของ moribana จะใช้ก้านดอกฐานความยาวเท่าเส้นผ่าศูนย์กลางของภาชนะบวกกับความลึกของก้นภาชนะ ก้านดอกรองตัดให้ความยาว 2 ใน 3 ของก้านฐาน และก้านดอกยอดตัดให้เหลือความยาวแค่ครึ่งหนึ่งของก้านดอกฐาน
       การจัดวางเริ่มจากก้านดอกฐานเสียบตั้งตรงในแนวดิ่ง ตามด้วยก้านดอกรองที่เสียบให้เอียงซ้าย 45องศา และโน้มมาด้านหน้าของแจกันหรือภาชนะบริเวณทำมุม 30 องศา ก้านดอกยอดเสียบให้โน้มกิ่งราว60 องศามาด้านหน้าเอียงไปมุมขวาภาชนะ 45 องศา เมื่อมองจากด้านบน(มุมก้ม)จะเห็นก้านดอกที่สามทำมุมเป็นรูปสามเหลี่ยมทางฝั่งขวาของภาชนะ ให้นำดอกไม้มาเติมพื้นที่ว่างในสามเหลี่ยมนั้น เป็นอันเสร็จสมบูรณ์
        เอกลักษณ์ของ Ikebana คือการใช้ดอก ก้านและใบเพียงเล็กน้อย มาจัดวางให้เกิดมุมที่จะอวดความงามตามธรรมชาติของดอกไม้เหล่านั้น ซึ่งอาศัยความสอดคล้องลงตัวระหว่างดอกไม้และภาชนะที่ใช้จัด และการเลือกชนิดของดอกไม้ใบประดับจะเลือกให้เหมาะสมกับสภาพแวดล้อมที่เราจะนำแจกันนอนไปวางตกแต่ง

  

การจัดดอกไม้สำหรับงานเเต่งงาน

         ดอกไม้ในงานแต่งงาน เปรียบได้กับเครื่องประดับชิ้นสวยของงาน ที่เจ้าภาพจัดเตรียมไว้ต้อนรับสร้างความประทับใจให้กับแขกเหรื่อ และยังเป็นอีกส่วนหนึ่งที่จะช่วยทำให้ความทรงจำที่เก็บไว้ในภาพถ่ายงดงาม
         นักจัดดอกไม้ได้เห็นพ้องต้องกันว่า การจัดดอกไม้ในงานแต่งงานไม่ได้ยึดถือเรื่องเทรนด์เป็นสำคัญ ขึ้นอยู่กับฤดูกาลของดอกไม้และความชอบของคู่บ่าว-สาวมากกว่า ดังนั้นก่อนจะไปพบนักจัดดอกไม้ คุณควรทำการบ้านโดยการพูดคุยตกลงกันว่าด้วยประเด็นต่างๆดังต่อไปนี้
         ควรมีเวลาเตรียมงานล่วงหน้าอย่างน้อยหนึ่งเดือน เพราะนักจัดดอกไม้จะต้องไปดูขนาดห้องที่จะจัดงานเพื่อออกแบบและคิดคำนวนว่าจะต้องใช้ดอกไม้มากน้อยแค่ไหนถึงกำลังสวย แล้วจึงสั่งดอกไม้ ดอกไม้บางชนิดต้องนำเข้าจากต่างประเทศ แล้วยังต้องเตรียมงานโครงสร้างต่างๆ เช่น โครงเหล็กซุ้มประตู ทำ backdrop หรือฉากหลังไว้สำหรับถ่ายรูป

ภาพ:Flo8.jpg

การจัดดอกไม้รวม

การจัดดอกไม้รวมให้ออกมาดี คือ ดอกไม้แต่ละแบบต้องส่งเสริมซึ่งกันและกัน และการส่งเสริมกันนี้ จะทำให้ความงามของดอกไม้สมบูรณ์ยิ่งขึ้น

ภาพ:Flo7.jpg

การจัดดอกไม้ขนาดใหญ่

การจัดดอกไม้ขนาดใหญ่ ต้องการภาชนะที่ใหญ่และหนัก ภาชนะที่ใช้อาจจะเป็นแจกันขนาดใหญ่ โอ่งขนาดเล็กหรือกลาง หรือง่าย ๆ ถังสีที่คุณใช้แล้ว ทำความสะอาดสักหน่อย ก็จะให้ความสวยที่ไม่แพ้กับแจกันราคาแพง ยิ่งเป็นการจัดดอกไม้ใหญ่เท่าไร ความสำคัญของภาชนะก็ยิ่งเพิ่มมากขึ้น เนื่องจากเป็นจุดสนใจด้วย

ภาพ:Flo13.jpg

วันจันทร์ที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2555

AIRLINE CODE

A   -Able   
            N   -Nancy
B   -Baker   
            O   -Oboe
C   -Charlie   
            P   -Peter
D   -Dog      
            Q   -Queen
E   -Easy      
            R   -Roger
F   -Fox      
            S   -Sugar
G   -Gorge   
            T   -Tare   
H   -How      
            U   -Uncle
I   -Item      
            V   -Victor
J   -Jimmy   
            W    -William
K   -King      
            X   -X - ray
L   -Love      
            Y   -York   
M   -Mike      
            Z   -Zebra

HOTEL CODE

A = Alpha.........B = Bravo.........C = Chalie........D = Delta
E = Echo..........F = Foxtrot........G = Golf...........H = Hotel
I = India..........J = Juliet..........K = Kilo............L = Lima
M = Mike..........N = November....O = Oscar.........P = Papa
Q = Quebec.......R = Romeo........S = Sierra........T = Tango
U = Uniform......V = Victor.........W = Whisky......X = X-ray
Y = Yangky........Z = Zulu

โครงสร้างงานโรงแรม

1.             (Front Office Manager) ผู้จัดการสำนักงานส่วนหน้า
มีหน้าที่-ดูแลควบคุมให้การดำเนินงานของแผนกต้อนรับเป็นไปโดยราบรื่น และมีประสิทธิภาพ นอกจากนี้ในฐานะที่เป็นหัวหน้าแผนก ต้องเกี่ยวข้องกับการคัดเลือกคนเข้าทำงานและให้การฝึกอบรม วางงบประมาณของแผนก และควบคุมค่าใช้จ่ายให้เป็นไปตามนั้น และคาดคะเนระดับอัตราการเข้าพักในอนาคต 
                2.  (Reception) พนักงานต้อนรับ
มีหน้าที่- เมื่อแขกเดินเข้ามาในโรงแรมพนักงานต้อนรับจะเป็นบุคคลแรกที่แขกพูดด้วย โดยพนักงานต้อนรับจะต้องทักทายและให้การต้อนรับแขก ลงทะเบียนแขกและจ่ายห้อง จ่ายกุญแจ รวมการต้อบข้อซักถามและจัดการเกี่ยวกับเรื่องที่แขกไม่พอใจ รวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับค่าใช้จ่ายด้านอาหารและเครื่องดื่มจากห้องอาหารและบาร์ ตลอดจนค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวกับการซักรีดเป็นต้น และนอกจากนี้อาจจะต้องคิดต่อประสานงานกับแผนกอื่น ๆ ในเรื่องต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับแขกด้วย 
3. (Hall Porter) พนักงานสัมภาระ
มีหน้าที่-พนักงานสัมภาระจะคอยต้อนรับแขกที่เข้ามาในโรงแรม ให้ข้อมูลเกี่ยวกับโรงแรมทั้งบอกทางไปยังจุดต่างๆ ในโรงแรม หากแขกเข้าพักห้องก็ต้องช่วยแขกขนสัมภาระต่าง ๆ ไปที่ห้องพัก และเมื่อแขกจะกลับก็ต้องขนของลงมาจากห้องพักเช่นกัน นอกจากนี้ยังมีงานอื่น ๆ ที่ต้องทำอีก เช่น การจดข้อความที่มีผู้สั่งความถึงแขกไว้ ดูแลกุญแจห้องพักแขก ให้คำแนะนำเกี่ยวกับสถานที่ท่องเที่ยวต่าง ๆ วิธีการเดินทางและรายละเอียดที่เกี่ยวข้องอื่น ๆ ช่วยแขกเรียกรถแท็กซี่ ช่วยจองตั๋วรถ/เรือ/เครื่องบิน ช่วยจัดห้องประชุมด้วยการช่วยขนย้ายโต๊ะ เก้าอี้ เป็นต้น 
4. (Doorman)  พนักงานเปิดประตู
มีหน้าที่-หลักคือ ช่วยแขกเปิดประตูรถยนต์ขณะนำรถเข้ามาจอดที่ประตูใหญ่ของโรงแรม ซึ่งอาจจะรวมถึงการเปิดประตูโรงแรมขณะแขกกำลังจะเดินเข้ามาก็ได้
5. (Concierge)  เจ้าหน้าที่อำนวยความสะดวก
 มีหน้าที่-ช่วยเหลือแขกตั้งแต่เรื่องสัมภาระ การเรียกรถ จองตั๋วละคร จองทัวร์ แนะนำสถานที่ท่องเที่ยว แนะนำร้านค้าที่แขกต้องการจะไปซื้อ
6. (Quest Relations Officer)  เจ้าหน้าที่ดูแลแขกพิเศษ
มีหน้าที่-บางส่วนที่เหมือนกันเจ้าหน้าที่อำนวยความสะดวก แต่จะมุ่งเน้นแบบเป็นการบริการส่วนตัวจริง ๆ ดังนั้นบทบาทสำคัญอย่างหนึ่งก็คือ การแก้ปัญหาเรื่องที่แขกไม่พอใจ ซึ่งถ้าหากพนักงานมีความสามารถและทำงานเป็น ก็จะช่วยลดปัญหาที่จะไปถึงผู้จัดการใหญ่หรือผู้บริหารระดับสูงได้มาก อีกทั้งยังจะแปรความไม่พอใจหรือคำติ กลายเป็นคำชมแทน
7.  (Night Porter) พนักงานสัมภาระภาคกลางคืน
มีหน้าที่-ในช่วงกลางคืนตามโรงแรมต่าง ๆ ก็จะมีผู้มาติดต่อกับโรงแรมน้อย โดยโรงแรมส่วนใหญ่จึงจะมีพนักงานอยู่เวรเท่าที่จำเป็นเพียงไม่กี่คน แต่ละคนจึงต้องทำหน้าที่หลายอย่าง เพราะต้องทำแทนตำแหน่งอื่นที่ไม่มีคนอยู่เวรด้วย โดย Night Porter จะรับช่วงงานต่าง ๆ ของแผนกต้อนรับตั้งแต่ประมาณ 23.00 น. หรือ 24.00 น. ไปถึงเช้าของอีกวัน สำหรับเรื่องที่ต้องจัดการดูแลบางส่วนที่บังเอิญเข้ามาพักตอนดึก และบางส่วนที่เช็คเอาท์ตอนเช้ามืดด้วย ดูแลการรับโทรศัพท์ ดูแลตรวจตราด้านการรักษาความปลอดภัยทั่วไป จัดหาเครื่องดื่มและอาหารว่างให้แขกที่อาจจะขอมาตอนกลางคืน และทำหน้าที่อื่น ๆ ไม่ว่าจะเป็นการช่วยจัดเตรียมห้องจัดงานหากมีการประชุมหรืองานเลี้ยงในตอนเช้า 

8.  (Telephone หรือ Telephone Operator) พนักงานรับโทรศัพท์
มีหน้าที่-รับโทรศัพท์ที่เรียกเข้ามาแล้วโดนไปตามบุคคลและแผนกต่าง ๆ จดข้อความเมื่อมีคนโทรศัพท์ถึงแขกที่บังเอิญไม่อยู่ในโรงแรมในขณะนั้น โทรสัพท์ปลุกแขกตามเวลาที่แขกสั่งไว้ 

9. (Reservations Clerk) เจ้าหน้าที่สำรองห้องพัก
มีหน้าที่-ดูแลเรื่องการจองห้องพักของลูกค้า โดยจะต้องยืนยันการจองทางจดหมายหรือแฟกซ์ 

10. (Cashier) พนักงานแคชเชียร์
มีหน้าที่-รับผิดชอบในการออกใบเสร็จและเก็บเงินจากแขก รวมถึงการบริการที่ให้แขกและเปลี่ยนเงินตราด้วย